สถิติ
เปิดเมื่อ17/08/2014
อัพเดท20/08/2014
ผู้เข้าชม8586
แสดงหน้า9451
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 


น้ำมันรำข้าว กิฟฟารีน

อ่าน 709 | ตอบ 0
น้ำมันรำข้าว กิฟฟารีน
น้ำมันรำข้าว (Rice Bran Oil) กับวิถีชีวิตยุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ
น้ำมันรำข้าวจากภูมิปัญญาของชาวเอเชียกำลังโด่งดังไปทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ผู้ใส่ใจดูแลสุขภาพในแถบยุโรปและอเมริกา เนื่องจากมีงานวิจัยจำนวนมากให้ความสนใจกับคุณค่าทางโภชนาการและคุณประโยชน์ต่อสุขภาพของน้ำมันรำข้าว 
น้ำมันรำข้าวคืออะไร
น้ำมันรำข้าว เป็นน้ำมันพืชชนิดที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในการปรุงอาหารเอเชีย อาทิ อาหารญี่ปุ่นและอาหารจีน น้ำมันรำข้าวสกัดมาจากเยื่อสีน้ำตาลที่ห่อหุ้มเมล็ดข้าวที่ได้จากกระบวนการสีข้าว เรียกว่า “รำข้าว” ซึ่งเป็นส่วนประกอบเพียง 7-8% ของข้าวแต่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ สำหรับน้ำมันรำข้าวของประเทศไทยนั้น ขึ้นชื่อในเรื่องคัดสรรมาเฉพาะรำข้าวหอมมะลิแท้ นอกจากนี้ผู้ใส่ใจในสุขภาพยุคใหม่ยังให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อน้ำมันรำข้าวที่ไม่ใช้พืชที่ตัดต่อพันธุกรรม (Non GMO) ในการผลิตอีกด้วย
นานาประโยชน์ของน้ำมันรำข้าว
อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
น้ำมันรำข้าวอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด สารสำคัญที่สุดคือแกมม่า-โอรีซานอล ซึ่งจะพบได้เฉพาะในน้ำมันจากข้าวเท่านั้น โดยน้ำมันรำข้าวโดยทั่วไปจะให้สารแกมม่า-โอรีซานอล 2,000 – 4,000 ppm ปัจจุบันยังมีน้ำมันรำข้าวที่สกัดพิเศษเพื่อให้ได้สารแกมม่า-โอรีซานอลสูงถึง 8,000 ppm อีกด้วย นอกจากนี้ในน้ำมันรำข้าวยังพบวิตามิน อี ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องการชะลอความชรา จึงเห็นได้ว่ามีการใช้น้ำมันรำข้าวในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจำนวนไม่น้อย 
มีงานวิจัยระบุว่าทั้งสารแกมม่า-โอรีซานอล และวิตามิน อี จากรำข้าว สามารถยับยั้งกระบวนการสังเคราะห์โคเลสเตอรอล (Cholesterol Oxidation) ของร่างกาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าน้ำมันรำข้าวมีส่วนช่วยลดอาการไขมันในเลือดสูงได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยระบุว่าแกมม่า-โอรีซานอลน่าจะมีฤทธิ์ในการลดไขมันในเส้นเลือดสูงกว่าวิตามิน อี เนื่องจากในรำข้าวมีแกมม่า-โอรีซานอลสูงกว่าวิตามิน อี ถึง 10 เท่าทีเดียว 
เอกสารอ้างอิง
1.Xu, Zhimin. Hua, Na. & Godber, J. Samuel. (2001). Antioxidant activity of Tocopherols, Tocotrienols, and γ-Oryzanol components from rice bran against cholesterol oxidation accelerated by 2,2‘-Azobis(2-methylpropionamidine) Dihydrochloride. Journal of American Chemical Society, 49 (4), 2077-2081.
2.Sugano, Michihiro. & Tsuji, Etsuko. (1997). Rice bran oil and cholesterol metabolism. Journal of Nutrition, 127(3), 521S – 524S. 
สร้างสมดุลของไขมัน
ฤทธิ์ในการลดโคเลสเตอรอลของรำข้าวกำลังเป็นที่สนใจของผู้รักสุขภาพ มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า รำข้าวและน้ำมันรำข้าวอาจช่วยลดแอลดีแอล-โคเลสเตอรอล (LDL-C) ซึ่งเป็นไขมันชนิดไม่ดี และยังอาจช่วยเพิ่มเอชดีแอล-โคเลสเตอรอล (HDL-C) ไขมันชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในคนระบุว่าน้ำมันรำข้าวที่มีแกมม่า-โอรีซานอลสูง อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดไขมันในเส้นเลือดได้มากยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
1.Newman, R.K., Betschart, A.A., Newman, C.W., & Hofer, P.J. (1992). Effect of full-fat or defatted rice bran on serum cholesterol. Plant Foods for Human Nutrition, 42, 37-43.
2.M. Most, Marlene, Tulley, Richard, Morales, Silvia, & Lefevre, Michael. (2005). Rice bran oil, not fiber, lowers cholesterol on humans. American Journal of Clinical Nutrition, 81(1), 64-68
3.Berger, Alvin, et. al. (2005). Similar cholesterol-lowering properties of rice bran oil, with varied γ-Oryzanol, in mildly hypercholesterolemic men. European Journal of Nutrition, 44, 163-173.
จุดที่ก่อให้เกิดควันสูง (High Smoke Point)
จุดที่ก่อให้เกิดควัน (Smoke Point) คือ อุณหภูมิที่น้ำมันประกอบอาหารเริ่มกลายเป็นควัน และเริ่มเสื่อมสลายคุณค่าทางโภชนาการและกลิ่นรส ซึ่งน้ำมันแต่ละชนิดมีจุดที่ก่อให้เกิดควันในอุณหภูมิที่ต่างกัน ดังนั้น จุดที่ก่อให้เกิดควันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเมื่อเลือกซื้อน้ำมันประกอบอาหาร โดยเฉพาะในการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนสูง เช่น การทอด จึงควรเลือกใช้แต่น้ำมันที่มีจุดที่ก่อให้เกิดควันสูง (High Smoke Point) ซึ่งไม่เพียงช่วยรักษากลิ่นรสของอาหาร แต่ยังช่วยลดการเกิดควันน้ำมันในการประกอบอาหาร อันอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ 
น้ำมันรำข้าวขึ้นชื่อว่าเป็นน้ำมันที่มีจุดที่ก่อให้เกิดควันสูงประมาณ 240 - 254 องศาเซลเซียส โดยทั่วไปจัดว่าสูงกว่าน้ำมันชนิดอื่นๆ อาทิ น้ำมันพืช น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันหมู เนย เป็นต้น ถึงแม้ว่าน้ำมันปาล์มจะมีจุดเกิดควันค่อนข้างสูง มีผู้นิยมใช้ทอดอาหาร แต่มักมีไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพ
ตารางเปรียบเทียบจุดที่ก่อให้เกิดควันของน้ำมันประกอบอาหารชนิดต่างๆ ที่ใช้มากในประเทศไทย
เอกสารอ้างอิง
1.ปิยนันท์ อึ้งทรงธรรม. จุดเกิดควัน. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, ข้อมูลจาก http://nutrition.anamai.moph.go.th/temp/files/morning_talk/melting%20point.doc
2.Smoke Point. ข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Smoke_point
ประกอบอาหารได้หลากหลาย
น้ำมันรำข้าวเป็นที่นิยมในการใช้ประกอบอาหารทุกชนิด โดยเฉพาะอาหารประเภททอด ซึ่งใช้ความร้อนสูง นอกจากนี้น้ำมันรำข้าวยิ่งมีกลิ่นรสอ่อนจาง ไม่มีกลิ่นหืน และดีต่อสุขภาพ ทำให้มีผู้นิยมใช้ในการทำอาหารประเภทผัด อีกทั้งสามารถใช้ประกอบอาหารฝรั่งได้เป็นอย่างดี โดยชาวตะวันตกเริ่มนำน้ำมันรำข้าวมาใช้ในการทำน้ำสลัด ผัดสปาเก็ตตี้หลากหลายเมนู ตลอดจนใช้ทำเบเกอรี คนไทยจึงน่านำมาทดลองใช้ ก็จะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันมะกอกได้อีกทางหนึ่ง

น้ำมันรำข้าว กิฟฟารีน โอรีซา 
CODE : 37325 

- ผลิตจากน้ำมันรำข้าวหอมมะลิแท้ 
- ให้แกมม่า-โอรีซานอลสูง 8,000 ppm 
- ปราศจากโคเลสเตอรอล
- ช่วยลด แอลดีแอล-คอเลสเตอรอล (LDL-C) ไขมันชนิดไม่ดี และเพิ่ม เอชดีแอล-คอเลสเตอรอล (HDL-C) ไขมันชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- จุดที่ก่อให้เกิดควันสูง (High Smoke Point) ช่วยลดการเกิดควันในการประกอบอาหาร
- ไม่มีกลิ่นหืน และไม่เติมสารกันหืน 
- ไม่ใช้พืชที่ตัดต่อพันธุกรรม (Non GMO) 
ส่วนประกอบสำคัญ: น้ำมันรำข้าวผ่านกรรมวิธี 100% 

วิธีรับประทาน: ใช้ประกอบอาหารได้ทุกชนิด โดยเฉพาะอาหารประเภทผัด, ทอด หรือใช้ทำน้ำสลัด
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :